ชื่อไทย : เอื้องลิ้นดำกลีบยาว
ชื่อท้องถิ่น : เอื้องงูเขียวปากลาย
ชื่อสามัญ : Ueang lin dam klip yao, The All to One Side Luisia
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Luisia secunda Seidenf.
ชื่อวงศ์ : ORCHIDACEAE
ลักษณะวิสัย : กล้วยไม้
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ลำต้น :
ลำต้นกลม ยาว
ใบ :
กลมยาว 
ดอก :
ช่อดอกแบบช่อกระจะสั้น จำนวน 3 – 4 ดอก กว้าง  4 เซนติเมตร ดอกสีเขียวแกมสีเหลือง กลีบเลี้ยงรูปขอบขนานงุ้มคล้ายกลีบบัว กลีบดอกรูปแถบ กลีบปาก มีแต้มสีม่วงเข้มเกือบดำ 
ผล :
ระยะติดดอก - ผล :
เริ่มติดดอก : พฤษภาคม สิ้นสุดระยะติดดอก : มิถุนายน
เริ่มติดผล : สิ้นสุดระยะติดผล :

สภาพทางนิเวศวิทยา :
นิเวศวิทยา       พบตามป่าดิบแล้งและป่าดงดิบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ของไทย
ถิ่นกำเนิด       ไทย
การกระจายพันธุ์        ไทย    
การปลูกและการขยายพันธุ์ : วัสดุปลูกเป็นกาบมะพร้าว หรือถ่าน ให้ภาชนะและเครื่องปลูกมีความชุ่มชื้น หากติดขอนไม้หรือต้นไม้ควรให้แสงส่องถึง พรางแสงด้วยซาแรนประมาณ 50 – 60 % อากาศควรถ่ายเทให้สะดวก รดน้ำด้วยน้ำสะอาด ไม่มีกลิ่นหรือตะกอน ขยายพันธุ์โดยการตัดยอด หรือเพาะเมล็ด
รายละเอียดการใช้ประโยชน์ : ปลูกประดับตกแต่งสวน
แหล่งอ้างอิง : [๑] สันติ   วัฒฐานะ จรัญ มากน้อย และ ดวงจันทร์ วุฒิสาร. ๒๕๕๑. สวนพฤษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กล้วยไม้ไทย 2. หจก. วนิดาการพิมพ์. เชียงใหม่. http://www.orchidspecies.com/luissecunda.htm
ประเภทของการใช้ประโยชน์ :
กล้วยไม้
ที่อยู่ :
หมายเหตุ :
รูปพรรณไม้ :
   
Copyright © 2011 Royalpark Rajapruek All rights reserved.
ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50100
โทร 053-114110-5 แฟกซ์ 053-114196 E-Mail : [email protected]
เริ่มใช้งานระบบเมื่อ 1 มิถุนายน 2554